จงวิ่งให้เหมือนโบยบิน​

จงวิ่งให้เหมือนโบยบิน

 

ถ้าพูดถึงการวิ่งระยะไกล​ จะเป็นการแข่งขันกันในแง่การประหยัดพลังงาน​ มากกว่าการเพิ่มแรงหรือค่า​ Vo2 maxแข่งกัน ในนักกีฬาที่ระดับใกล้เคียงกันวัดที่​ Running​ Economy​ใครดีกว่า

การประหยัดพลังงานทำออกมาในรูปแบบต่างๆ​ ขอแบ่งเป็น​ 2 แบบ

1 จากตัวนักวิ่งเอง

2 จากอุปกรณ์​วิ่ง​ เช่น​ รองเท้าที่ออกแบบให้เบา​ เพิ่มแรงดีด​ ลด​ Ground contact time

วันนี้จะมาเจาะประเด็นจากตัวนักวิ่งเองกัน​เฉพาะท่าวิ่ง​ ไม่นับเรื่อง​ รูปร่าง​ น้ำหนักตัว​นะครับ

การวิ่งที่ประหยัดพลังงาน​ ใช้พลังงานน้อย​ มาจากปัจจัยหลักๆ​ ดังนี้

 

1 รอบขา ​(cadence)

รอบขาที่ช้าไป​ เกิดการแช่เท้านาน​ ใช้พลังงานในการ​drive ไปข้างหน้ามากขึ้น

รอบขาที่เหมาะสมแต่ละคน​ ไม่มีตัวเลขชัดเจน

แต่อะไรที่ต่ำกว่า​ 170 ต่ำไป​ อะไรที่เกิน​ 210 ก็สูงมากไป

ถ้าแนะนำ​ ระหว่างซ้อม​ easy อย่างน้อยเกิน​ 170

ถ้า​ speed workout หรือแข่ง​ ควรเกิน​ 175

 

2 Ground contact time (GTC)

คือ​ การแช่เท้าที่พื้น​นานแค่ไหน แช่นาน​ เปลืองพลังงาน​ ให้นึกภาพ​ แช่ขา​เราต้องใช้แรงในการดันมากกว่าแตะแล้วไป​ เหมือนวิ่งบนผิวน้ำ

การที่รอบขาเร็ว​ ก็ช่วยลด​ GTC​ ได้ส่วนนึงแล้ว​ ปัจจัยอื่นที่ช่วยลด​ ก็เป็นเรื่องของ​ LSS. และ​รองเท้าที่​ response ได้ดี​เด้ง

นักวิ่งทั่วไป​ ค่าอยู่​ 160-300 ms

Elite ต่ำกว่า​ 200 ms

ฝึกให้ลดลงได้​ strength Plyometric.stride

 

3 Vertical oscillation (VO)

ความเด้งในแนวตั้ง​ ยิ่งวิ่งเด้งแนวตั้งเยอะ​ ยิ่งเสียพลังงาน​ ยิ่งทำให้วิ่งช้าลง​

ค่าที่เกิน​ 8 cm บ่งบอกว่าน่าจะเด้งมากเกินไป

ปรับแก้ไข​ หลักๆ​ โดยการ lean forward หรือเอนแนวการวิ่งไปข้างหน้าเล็กน้อย​ การเด้งจะลดลง

 

4 Leg Spring stiffness

อันนี้หลายคนอาจเห็นผ่านๆตา​ และไม่แน่ใจว่าคืออะไร​ พูดง่ายๆ.มันคือความยืดหยุ่นและแข็งแรง​ที่​ กล้ามเนื้อ​ และเอ็น​ จะสามารถ​ recycle แรงที่กระแทกจากการลงน้ำหนัก​ แต่ละก้าว​ เปลี่ยนเป็นแรงผลักการวิ่งไปข้างหน้า

ความ​ stiffness ของกล้ามเนื้อยิ่งมาก​ เราก็จะเปลี่ยนพลังงานการกระแทก​ ดีดเด้งไปได้มาก​ หรือเปลืองพลังงานที่ใช้น้อยลง​ ให้นึกภาพนักกีฬาเคนยา​ ที่​ drillแบบ​ ดีดๆ​เด้งๆ​ เหมือนผีเสื้อบินครับ​ พวกนี้​ LSS.ดีมาก​ มัดที่มีความสำคัญอยู่ที่​ Calf เอ็นร้อยหวายครับ

แยกออกจาก​ muscle Stiffness​ ทางการแพทย์นะครับ​ อันนั้นทางการแพทย์จะ​ relate ไปในทางเจ็บป่วยครับ

ค่านี้​นักวิ่งอยู่ที่​ 6-14 kN/m การเปลี่ยนแปลงจะทำได้ช้าสุด​ ค่านี้ไม่มีค่าปกติซะทีเดียว​ ยิ่งสูงยิ่งดี​ เทียบกับตัวเองไม่กับคนอื่น

ฝึกให้เพิ่มได้จาก​ Strength, Plymometric, Drill etc

ค่าต่างๆเหล่านี้บางค่าวัดจากนาฬิกา​ บางค่า ใช้​ Running​ pod หรือ​ running Lab​ได้

 

ถ้ามองภาพใหญ่ทั้งหมด​ สำหรับนักวิ่ง​ ถ้าจะโบยบิน​ ทำน้ำหนักส่วนเกินให้ลดลง​ สำหรับนักวิ่งที่น้ำหนักมาก ต่อมาก็ปรับ​ 1-4 ให้ดี 1-3 ทำได้ง่ายและเร็วกว่า​ 4จะต้องใช้เวลา แล้วสุดท้ายก็หารองเท้าดีๆ​ มาช่วยอีกนิด​ ถ้าต้องการวิ่งแบบโบยบิน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า