การตรวจ Screen ก่อนเล่นกีฬา เพื่อลดการเสียชีวิต ต้องตรวจอะไรบ้าง

 

การตรวจ Screenก่อนเล่นกีฬา เพื่อลดการเสียชีวิต ต้องตรวจอะไรบ้าง

การตรวจ Screen ก่อนเล่นกีฬา ต้องตรวจอะไรบ้าง Preparticipant Screening  สิ่งที่นักกีฬาถามมากที่สุด
ภาคต่อจากผลของหัวใจกับการออกกำลังกาย


เมื่อก่อนนี้การ ตรวจร่างกาย นักกีฬา( Athlethe) จะทำกับนักกีฬามืออาชีพ ใช้คำว่า Preparticipant  Screening คือ การตรวจคัดกรองทางการแพทย์ เพื่อคัดกรอง โรคที่เป็นอันตรายในการออกกำลังกายจากนักกีใษ เพื่อทำการรักษา ปรึกษาให้คำแนะนำ รวมถึงห้ามออกกำลัง ในโรคบางโรค

ประกอบด้วยการ ซักประวิติ ความเสี่ยง ตรวจร่างกาย และตรวจ คลื่นหัวใจ รวมถึง การตรวขแบบพิเศษอื่นๆ เพื่อป้องกันภาวะการเกิดการเสียชีวิตฉับพลันจากการออกกำลังกาย แต่หลังจากยุค Running boom มีประชากรกลุ่มนี้เพิ่มขึ้นมหาศาล จากคนธรรมดากลายเป็นนักกีฬาสมัครเล่น เป็นคนที่ ออกกำลังบ่อยๆและแข่งวิ่ง จนต้องมีคำศัพท์ ใหม่ใช้เรียกกลุ่มนี้ว่า CAHAP (competitive athletes and highly active people) ดังนั้นคำนี้ จะรวมถึงนักกีฬาอาชีพ นักกีฬาสมัครเล่น รวมถึงคนที่ออกกำลังกายเป็นประจำที่ลงแข่ง

ความแตกต่างระหว่างการตรวจ คนทั่วไป กับกลุ่ม คนเล่นกีฬา 

1.Cost Effective is not the key

ในทางการแพทย์เชิงเศรษศาสตร์จะหมายถึงความคุ้มค่าในจำนวนเงินที่ใช้ตรวจ เพื่อทำให้พบโรค และรักษาโรคได้  พูดง่ายๆ ก็คือ ต้องตรวจ กี่คน ที่พบโรคที่เป็นอันตราย 1 คน ที่ถ้าตรวจไม่พบแล้วนักกีฬาอาจเสียชีวิตคาสนามได้ ยิ่งต้องตรวจหลายคน กว่าจะพบโรค 1 คน ก็เท่ากับใช้เงิน ส่วนกลางของภาครัฐมหาศาลมาก ในประเทศ อเมริกา ใช้เงิน 1 ล้าน USD ต่อการป้องกันการเสียชวิตได้ 1 คน ในยุโรป ตัวเลขอยู่ประมาณ 50,000  USD ในประเทศไทย ยังไม่มีการเก็บตัวเลขเพียงพอ  แต่จากการตรวจนักกีฬาของทีม Health Perfrormance ในกลุ่มอายุ 35 ขึ้นไป พบความผิดปกติ 3 ราย จากทั้งหมด 200 คน  2 คนมีเส้นเลือดหัวใจตีบ ต้องรักษา อีก 1 คน มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะแบบเร็ว

2.It might be Over investigate 

ภาวะบางอย่าง ที่เจอในคนทั่วไป ไม่ต้องตรวจเพิ่มเติม เช่นหัวใจเต้นผิดจังหวะแบบพบได้ใยคนทั่วไป แต่กลุ่ม CAHAP เมื่อตรวจเจอ ต้องตรวจให้สุดๆ เช่น การมี PVC หัวใจเต้นผิดจังหวะ เกิน 2  ตัว ในคนทั่วไปแพทย์ให้คำแนะนำว่าพบได้ในคนปกติ ส่วนใหญ่ไม่ต้องตรวจเพิ่มเติม แต่สำหรับ CAHAP ต้องตรวจเพิ่มเติม จนมั่นใจว่าไม่มีโรคซ่อน
อุบัติการการเกิดเสียชีวิตฉับพลันในระหว่างออกกำลัง อยู่ประมาณ 1.5 ต่อ 2 แสนคน
โรคที่พบมากสุดคือ โรคเส้นเลือดหัวใจอุดตัน รองลงมาเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวแบบผิดปกติ (HOCM) อื่นๆ หัวใจเต้นผิดจังหวะ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

 

ควรตรวจคัดกรองอะไรบ้างทางหัวใจ 

ทั่วโลก จะการการคัดกรอง อิงตาม 2 แบบใหญ่ๆ ตามลักษณะประชากร เศรษฐานะ โรคที่พบบ่อย แบ่งเป็นของ อเมริกา กับ ยุโรป โดยฝั่งยุโรปจะมีการตรวจ ที่ละเอียดกว่า และพบอุบัติการ การเสียชัวิตจากการออกกำลังลดลงเหลือ 0.8 คนต่อ 1000 นักกีฬา

 

 

Preparticipant ใน อเมริกา ACSM

 

 

 

Preparticipant ยุโรป ESC

 

 

ในประเทศไทย ยังไม่มี Guideline ในการทำ Preparticipant Screnning ชัดเจน แต่จากข้อมูล และประสบการณ์ในการตรวจนักกีฬา ผมขอแนะนำดังนี้ครับ

1 การซักประวัติโดยละเอียด ในแง่ของความเสี่ยงในการเกิดโรค อาการของโรคหัวใจ ใจสั่น วูบ หน้ามืดเป็นลม เจ็บหน้าอก ประวิติเสียชีวิตฉับพลันในครอบครัว  

2 ตรวจร่างกาย โดยแพทย์ เน้น ทางระบบหลอดเลือดและหัวใจ

3 ตรวจทางห้องปฏิบัติการ

  1. EKG คลื่นหัวใจ ควรตรวจทุกราย ค่าใช้จ่ายต่ำ ไม่ถึง พันบาท คัดกรองโรคได้เยอะมาก อาทิ เส้นเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจหนาโตแบบกรรมพันธ์ุ HOCM  หัวใจโตหัวใจเต้นผิดจังหวะ ที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตขณะออกกำลัง เช่น WPW, Long QT, ARVD, Brugada (ไหลตาย) เรียกว่า บางโรค EKG แผ่นเดียววินิจฉัยได้เลย
  2. EST หรือ เดินสายพาน ควรทำทุกราย โดยเฉพาะกลุ่มที่มีอายุเกิน 35 ปี ช่วยกรองโรคหัวใจขาดเลือด และหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ โดยควรวิ่งถึง Maximum ของนักกีฬา ความแตกต่างของการเดินสายพานในนักกีฬากับการเดินสายพานคัดกรองโรคทั่วไปอยู่ที่ การเดินสายพานนักกีฬา ควรวิ่งให้ถึง Maximum effort หรือ Max exercise capacity ก็คือ ออกแรงจนสุดๆ ไม่ใช่หยุดการทดสอบที่ 85% ของ maximum HR แบบ check up ปกติ การเดินสายพานที่ Max effort ควรทำโดยแพทย์ดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะต้องประเมินการหยุดทำ เพื่อป้องกันอันตรายจากการล้ม หรือโรคแทรกที่อาจเกิดได้
  3. Echocardiogram คลื่นสะท้อนหัวใจ ควรทำในรายที่สงสัย ทั้งจากการตรวจร่างกาย ซักประวิติ หรือ คลื่นหัวใจที่ผิดปกติ
  4.  

การตรวจอื่นๆ กรณีสงสัยโรค

4.MRI heart ใช้ตรวจแยกรายละเอียดที่ลึกขึ้น หรือหาโรค เป็นรายๆไป เช่นกรณีเดินสายพานแล้วผิดปกติ แต่นักกีฬาไม่มีอาการ อาจไม่มีความจำเป็นต้องไป ฉีดสีเลย เพราะมีความเสี่ยงในการทำ ให้ทำ MRI เพื่อวินิจฉัยว่ามีการขาดเลือดจริงหรือไม่ก่อน เพราะ การเดินสายพาน อาจให้ผลบวกลวงได้ครับ

5 CT Calcium Score ในกรณี ที่สงสัยโรคน้อย อาจทำ CT ไม่ต้องฉีดสี เพื่อประเมิน ระดับหินปูนในหลอดเลือด หรือ Plaque คราบไขมันในหลอดเลือด

ประเด็นสำคัญอีก 1 ประเด็น

เส้นเลือดหัวใจตีบ คัดกรองเจอ 100 % ไหม

คำตอบคือ ไม่ เราคัดกรองได้เฉพาะเส้นเลือดตีบแบบเรื้อรัง และมากพอ แต่แบบฉับพลันที่เกิดจากการหลุดของคราบไขมัน ( Plaque) ขณะออกกำลังกายเราคัดกรองลำบาก ซึ่งกลุ่มนี้มักมีปัจจัยเสี่ยงอยู่ เช่น ไขมันในเส้นเลือด ความดันโลหิตสูง เบาหวาน กรรมพันธุ์ สูบบุหรี่ เป็นต้น

อะไรคืออาการที่ควรหยุดออกกำลัง หรือหยุดแข่งทันที


1.หน้ามืด จะเป็นลม
2.จะวูบ
3.จุกแน่นหน้าอก รวมถึงลิ้นปี่
4.เหนื่อยแบบผิดปกติ
ถ้ามีอาการเหล่านี้ควรหยุด และขอความช่วยเหลือทันที ให้คิดว่าเป็นเรื่อง serious ไว้ก่อน อย่าชะล่าใจ ว่าเดี๋ยวก็หาย พักก็ดีขึ้นแล้วไปต่อนะครับ

บทความอื่นๆ

เรียบเรียง Health Perfrormance Team


แนะนำ บริการ  ทาง Health Perferformance Team ได้เปิดบริการตรวจคัดกรองโรคหัวใจ ทดสอบความฟิต หา Zone HR ที่แท้จริง เฉพาะตัว รวมทั้ง แนะนำการออกกำลังกายที่ปลอดภัยและถูกวิธี สนใจรับบริการ

รายละเอียด http://bit.ly/2JKdtvf

 

 

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า