อัตราการเต้นของหัวใจ “เต้นสูง” หรือ “เต้นต่ำ” แบบไหน “ดี” หรือ “อันตราย” มากกว่ากัน?

ตกลงแล้วอัตราการเต้นของหัวใจ “เต้นสูง” หรือ “เต้นต่ำ” แบบไหน “ดี” หรือ “อันตราย” มากกว่ากัน?

เป็นเรื่องปกติในกลุ่มนักกีฬาที่มักจะให้คำนิยามตัวเองว่า “ฟิตหรือไม่ฟิต” ด้วยการดูอัตราการเต้นของหัวใจเป็นหลัก พร้อมกับประโยคบอกเล่าสุดคลาสสิค เช่น

“ว้าว Heart Rate เต้นต่ำมาก ขณะพัก ยังไม่ถึง 60 ครั้งต่อนาทีเลย อย่างฟิต”

“โห Heart Rate พุ่งไปเกือบ 200 ครั้งต่อนาที แต่ยังแช่ได้เป็นครึ่งชั่วโมงเลย อย่างถึก”

จากประโยคที่กล่าวมาข้างต้น นำไปสู่คำถามว่า “ตกลงแล้วหัวใจเต้นแบบไหน มันจะดีกว่ากัน?”

ความจริงแล้วอัตราการเต้นของหัวใจแต่ละรายบุคคล หรือ แต่ละช่วงเวลา ล้วนแต่แปรผันตามปัจจัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ความแตกต่างทางด้าน เพศ, พันธุกรรม หรือ กิจวัตรประจำวัน.

ทั้งหมดนี้ล้วนแต่มีอิทธิพลต่ออัตราการเต้นของหัวใจทั้งนั้น เพราะฉะนั้นแล้ว อัตราการเต้นของหัวใจสูงหรือต่ำ ไม่ได้บ่งบอกว่าคุณมีความฟิตของร่างกายที่ ”ดี” หรือ “แย่” เสมอไป.

แต่สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์การกีฬา จะตรวจสอบ “ความฟิต” หรือ “ไม่ฟิต” ของหัวใจคุณนั้น เราจะให้ความสำคัญกับค่าของ “Oxygen Pulse” มากกว่า “อัตราการเต้นของหัวใจ”

Oxygen Pulse คืออะไร?

Oxygen Pulse คือ “อัตราการใช้ Oxygen ในขณะออกกำลังกาย” หารด้วย “อัตราการเต้นของหัวใจ”

Oxygen Pulse บอกอะไรเราได้?

Oxygen Pulse แสดงถึงความสามารถในการลำเลียง Oxygen จากเนื้อเยื่อในร่างกาย เข้าสู่เซลล์ ต่อ “อัตราการเต้นของหัวใจหนึ่งครั้ง”. อีกทั้งยังสามารถบ่งบอกปริมาณเลือดที่ถูกสูบฉีดออกจากหัวใจต่อการ “บีบตัวหนึ่งครั้ง”.

Oxygen Pulse บ่งบอกถึงความฟิตในนักกีฬาที่มี Maximal Heart Rate ที่แตกต่างกันได้อย่างไร?

กราฟที่แสดงในโพสนี้ เป็นการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างนักกีฬา “A” และ “B” ที่อายุเท่ากัน แต่มีค่า Maximal Heart Rate แตกต่างกัน โดยที่

“นักกีฬาA” มีค่า Max HR อยู่ที่ 176 ครั้งต่อนาที ส่วน “นักกีฬาB” มีค่า Max HR อยู่ที่ 194 ครั้งต่อนาที.

@คนไหนจะมีความสมบูรณ์ในด้านหัวใจมากกว่ากัน?

จากกราฟจะสังเกตได้ว่า (สีม่วงคือ Heart Rate และ สีฟ้าคือ Oxygen Pulse) ในระหว่างการทำ VO2max Test.

“นักกีฬา A”. Heart Rate ยิ่งสูงขึ้นเท่าไหร่ ค่า “Oxygen Pulse” ก็สูงขึ้นตามด้วย นั่นหมายความว่า ยิ่งความหนักในการออกกำลังกายมากขึ้นเท่าไหร่ ร่างกายยังมีความสามารถที่จะลำเลียง Oxygen และ เลือด มาส่งเสริมความหนักไปเรื่อยๆ

ส่วนใน “นักกีฬา B”. ถึงแม้ว่า Heart Rate จะสามารถพุ่งได้ถึง 194 ครั้งต่อนาที แต่ลักษณะการสูบฉีดของเลือดและการลำเลียง Oxygen มาใช้เป็นพลังงานกลับทำได้ไม่ดี. นั่นหมายความว่า หัวใจของ “นักกีฬา B” อาจจะต้องบีบตัว 3-5 ครั้งเพื่อที่จะทำให้ปริมาณเลือดและ Oxygen เข้าไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้เท่ากับ “นักกีฬา A”.

ถ้า “นักกีฬา B” ยังทนกับการแช่ Heart Rate ที่สูง แต่มี Oxygen Pulse ที่ต่ำ. การลำเลียงเลือดและ Oxygen ที่ไม่มีประสิทธิภาพนี้ ส่งผลให้ร่างกายก็มีแนวโน้มที่จะเป็นโรค “หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน” ในอนาคตได้.

จึงไม่แปลก ที่เรามักจะเห็นนักกีฬาฟิตๆ ต้องมาเสียชีวิตคาสนาม.

ถ้าจะให้เปรียบเทียบ Heart Rate และ Oxygen Pulse เหมือนเครื่องยนต์แล้ว
“คนที่มีความฟิต” ตอนออกกำลังกายหนัก หัวใจเต้นเร็ว การสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงหัวใจจะไม่มีปัญหา เสมือนเครื่องยนต์ที่ได้รับการดูแล เปลี่ยนถ่ายน้ำมันต่างๆมาเป็นอย่างดี. เมื่อเวลาเร่งเครื่องด้วยอัตราเร่งมากๆในเวลาไม่กี่วินาที เกียร์ที่ใช้ขับเครื่องยนต์จะอัดฉีดแรงดันน้ำมันเกียร์ที่มีคุณภาพ ทำให้สามารถไปขับเครื่องที่อัตราเร่งสูงได้. (นักกีฬา A)

“คนที่มีความฟิตน้อย” เสมือนเครื่องยนต์ที่ไม่เคยได้รับการดูแลอย่างถี่ถ้วน, ใช้น้ำมันเครื่องเก่าๆมาเป็นเวลานาน เมื่อเวลาเร่งเครื่องด้วยอัตราเร่งมากๆในเวลาไม่กี่วินาที เกียร์ที่ใช้ขับเครื่องยนต์จะอัดฉีดน้ำมันเกียร์ที่เสื่อมคุณภาพ ทำให้มีแรงดันไม่ถึงจุดที่ต้องทดรอบสูงๆ เกียร์จึงพัง รถขับต่อไม่ได้. (นักกีฬา B)

สุดท้ายแล้ว การที่เราเห็นอัตราการเต้นของหัวใจของผู้อื่น อย่าเพิ่งด่วนสรุปว่าเขามีความฟิตหรือไม่ฟิต คุณอาจจะไปสร้างกรอบที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดและให้ความเสี่ยงแก่คนๆนั้นได้. “คนที่มี Resting Heart Rate ต่ำ” อาจจะมีแน้วโน้มเป็นโรคหัวใจโตหรือมีความฟิตที่ดีก็ได้ หรือ “คนที่สามารถ Drive Heart Rate ไปได้สูงและแช่ได้นาน” อาจจะมีแน้วโน้มเป็นโรคหัวใจขาดเลือดหรือเป็นคนที่มีความฟิตโครตโหดก็ได้.

เพราะฉะนั้นแล้ว “หมั่นตรวจสอบตัวเองบ่อยๆ เพราะเรารู้จักตัวเองดีกว่าคนอื่น”

ด้วยความปรารถนาดี
น้องฮอท

Model: “คุณออม” OSAKA Marathon 2018 finisher

———————————————————————————————————

ตรวจ สมรรถภาพ ในนักกีฬา เพื่อเข้าใจร่างกายตัวเองอย่างละเอียด
ซ้อมได้ดีขึ้น กรองโรคที่เป็นอันตราย ในการออกกำลังกาย
ราคาเท่า รองเท้าแค่คู่เดียว แต่จะทำให้คุณวิ่งได้เร็วขึ้น และปลอดภัย

รายละเอียด http://bit.ly/2JKdtvf

ที่มา: FB Health Performance Team

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า