กลัวเป็นโรคหัวใจ ตรวจอะไรดี

กลัวเป็นโรคหัวใจ ตรวจอะไรดี 

จาก post แชร์เคสรุ่นพี่ มีคนสอบถามเรื่อง การตรวจต่างๆ ทาง inbox ผม  หลายท่านอาจเข้าใจว่าถ้ามีไขมันสูงต้องตรวจ CT calcium ทุกคน เลยมาอธิบายให้ฟังครับ

กลับมาที่จุดเริ่มต้น ถ้าเรากลัวเป็นหัวใจขาดเลือด เสียชีวิต ฉับพลัน เราต้องรู้จักตัวเราว่าเรามีความเสี่ยงมากแค่ไหน ก่อนจะพุ่งไปตรวจ CT calcium ต้องรู้ว่าเราอยู่ในกลุ่มเสี่ยง น้อย ปานกลาง หรือ มาก โดยเราสามารถประเมิน ได้เองจากการทำ Thai cv risk score ตาม link นี้ครับ

คลิ๊ก Thai cv risk score

ขออธิบายกว้างๆ สำหรับคนทั่วไป ไม่นับการตรวจคัดกรองทางกีฬา

กลุ่มความเสี่ยงน้อย

ภาพรวมไม่มีความจำเป็นต้องตรวจเพิ่มเติมใดๆ ถ้าต้องการเช็คสุขภาพ ทำคลื่นหัวใจขณะพักก็เพียงพอ แต่ถ้าไขมันสูงมากจริงๆ LDL เกิน 180 พิจารณาเป็นกรณีไปครับ

กลุ่มความเสี่ยงปานกลาง

กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ต้องให้ความสำคัญมากที่สุด มีโอกาสเกิดการเสียชีวิตฉับพลันมาก และมักเป็นกลุ่มที่เรามักได้ยินตามข่าว เช่น ออกกำลังแล้วเสียชีวิต เพราะ กลุ่มนี้แข็งแรง ความฟิตปกติ ออกกำลังได้หนัก แต่มีรอยโรคซ่อนโดยไม่รู้ตัว อาจเป็นจากไม่รู้ว่ามีโรค หรือละเลย ไม่กินยา ไม่รักษา

โดยเฉพาะคนที่ไขมันสูงมากๆ นานๆ อันนี้อันตราย เพราะอาจมีคราบไขมันในหลอดเลือดอยู่ กลุ่มนี้ส่วนใหญ่เส้นเลือดยังไม่ตีบพอ ที่จะมีอาการเจ็บหน้าอก หรือตรวจเจอจากการเดินสายพาน แต่วันดีคืนร้ายคราบไขมันหลุด เช่น ขณะออกแรงหนัก ออกกำลัง เกิด heart attack เสียชีวิตได้ทันที

กลุ่มนี้มีประโยชน์ในการตรวจเพิ่มเติม CT calcium score เพื่อดูว่ามีหินปูน มี คราบไขมันในหลอดเลือดหรือไม่

ใช้ช่วยบอกว่ามีคราบไขมันแล้วนะ ที่ทำมา มันไม่พอ ควรให้การรักษาด้วยยา ไขมัน และอาจต้องกิน aspirin ร่วมด้วย เพื่อป้องกันการเกิด heart attack

การตรวจ CT calcium ถ้าพบ calcium ปริมาณไม่มาก อาจไม่จำเป็นต้องตรวจอะไรเพิ่มเติมต่อไปเลย ใช้การกินยา กับปรับพฤติกรรม อาหาร การออกกำลังพอ

ประโยชน์อีกอันจากการตรวจ CT calcium คือ ช่วยวางแผนปรับเปลี่ยน life style และการออกกำลังให้เหมาะสมได้ เช่น ทำให้เราไม่ออกหนักเกินไป ไม่ออกเพื่อแข่งขัน ถ้ารู้ว่าเรามีคราบไขมันในหัวใจ แต่เน้นออกเพื่อสุขภาพแทน

กลุ่มความเสี่ยงสูง

กลุ่มนี้ส่วนใหญ่ได้รับการรักษา ได้ยาแล้ว การออกกำลัง หนักๆ จะไม่ค่อยมีมาก ตระหนักว่าตัวเองมีโรค จะไม่ทำอะไรหักโหม

CT calcium อาจไม่จำเป็น เพราะ

1.ไม่เปลี่ยนการรักษา ส่วนใหญ่ทำจะเจอหินปูนเยอะอยู่แล้ว คนไข้ส่วนใหญ่ก็กินยาอยู่

2.ตรวจแล้วค่าแคลเซียมที่น้อย แต่บางครั้งเส้นเลือดตีบเยอะไปแล้ว

ถ้าต้องตรวจ หรือมีอาการ เพื่อหาโรคพิจารณาตรวจ CTA คือทำ CT แบบฉีดสีเลย จะไม่พลาดรอยตีบที่สำคัญ ถ้าเจอก็ทำการสวนหัวใจรักษาต่อได้

EST การตรวจเดินสายพาน เป็นการตรวจเบื้องต้นที่ดี ถ้าเดินสายพานผิดปกติชัดเจน ทำการสวนหัวใจ ฉีดสีรักษาได้เลย

สิ่งที่อยากบอกส่งต่อคือ

การตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อหาโรคหัวใจมีหลายแบบ แต่ละแบบมีข้อดี ข้อจำกัด เราจะไม่ทำการตรวจทุกอย่างกับคนทุกคน ทุกกลุ่มความเสี่ยง เพราะอาจไม่ได้ประโยชน์จากการตรวจ หรืออาจไม่แม่นยำพอ

การทำ CT calcium ก็เช่นกัน มีข้อดี ทำง่ายไม่มีผลแทรกซ้อน แต่ไม่ได้เป็นตัวบอกว่าเป็นโรค หรือไม่เป็นโรคแน่นอน100% แต่เป็นตัวช่วย guide การรักษา การปฏิบัติตัว และการปรับ Lifestyle ที่ดี

ส่วนการตรวจเพิ่มเติมของแต่ละคนนอกจากการประเมินปัจจัยเสี่ยงแล้ว ยังต้องประเมิน activity คนทั่วไป นักกีฬา และอีกหลายปัจจัย ที่ทำให้แต่ละคนอาจได้รับการตรวจไม่เหมือนกันครับ

ขอบคุณ อ สุวัชชัย ช่วยให้คำปรึกษา ข้อมูลครับ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า