Pace และ ความเหนื่อย เท่าเดิม แต่ทำไม Heart Rate สูงขึ้น?

Pace และ ความเหนื่อย เท่าเดิม แต่ทำไม Heart Rate สูงขึ้น?

เราควรกังวลกับสภาวะนี้หรือไม่

หลังจากที่นักกีฬาเริ่มออกไปวิ่ง Outdoor เพิ่มขึ้น เราได้รับคำถามมากมายจากทางบ้าน ว่าทำไมโซนหัวใจของการวิ่ง Outdoor ค่อนข้างแปรปรวนกว่าการวิ่ง Indoor

จากกราฟ  ทีผมวิ่ง 10 กิโลเมตร ณ อุณหภูมิ 36 องศาจะเห็นได้ว่าหัวใจกำลังไต่ระดับขึ้นเรื่อยๆ ตามระยะเวลาการวิ่ง

อย่างไรก็ตามความเร็วและความรู้สึกขณะวิ่งอยู่ในระดับเท่าเดิม จนทำให้หลายๆครั้ง นักวิ่งมักกังวลว่า “หัวใจและร่างกายของตัวเองมีอะไรผิดปกติหรือไม่”

สภาวะนี้ในเชิงหทัยแพทย์ และ วิทยาศาสตร์การกีฬาจะเรียกว่า สภาวะ “Cardiac Drift”

Cardiac Drift เกิดจาก ร่างกายคนราสมรถระบายความร้อน ได้หลักๆสองทางคือ “กรสร้างเหงื่อ” เพื่อลดอุณหภูมิ และ “กรสูบฉีดเลือด” ไปทั่วร่างกายเพื่อลดอุณหภูมิในอากาศร้อน

เมื่อสารน้ำในหลอดเลือด ไหลไปที่ผิวหนังมากขึ้น ปริมาณน้ำในหลอดเลือดลดลง เลือดจึงกลับเข้าหัวใจลดลง ร่างกายจึงพยายามปรับตัวให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น เพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงได้พอ จึงเป็นการทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นทั้งๆที่ไม่ได้มาจากการออกกำลังที่หนักขึ้นเลย

เพราะฉะนั้นแล้ว ถ้าไม่มีอาการหน้ามืด เวียนหัว เจ็บหน้าอก หรือ กรรมพันธุ์จากคุณพ่อคุณแม่มีโรคหัวใจมาตั้งแต่ต้น สามรถสบายใจได้ในระดับนึงว่า เรากำลังเข้าสู่สภาวะ Cardiac Drift ที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน

เราสามารถหลีกเยงหรือบรรเทาสภาวะนี้ได้ คือ การดื่มน้ำในปริมาณพอเหมาะระหว่างทางการวิ่ง หรือ หลีกเลียงการออกกำลังกายในที่อุณหภูมิสูง

จึงเป็นที่มาว่า อย่าพยายามยึดติดกับอัตราการเต้นของหัวใจ เพราะ การเต้นของหัวใจที่สูงขึ้น ล้วนประกอบด้วยปัจจัยภายในและภายนอกมากมาย

ถ้าอยากพัฒนาศักยภาพ เราควรใส่ใจในเรื่อง Pace, Power หรือ Feeling ขณะวิ่งด้วยเช่นกัน

Cr. ฮอท พีรภัทร

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า