วิ่งใช้ส้นเท้าหรือฝ่าเท้าลงน้ำหนักดีกว่ากัน

 

 

Heel Strike or Forefoot Strike การวิ่งแบบเอาฝ่าเท้าลง หรือเอาส้นเท้าลง ดีกว่ากัน  ??  โดย By GRETCHEN REYNOLDS เรียบเรียงโดย Avarinshop

ปกติแล้วการวิ่ง ตามธรรมชาติของมนุษย์ จะมีการลงน้ำหนัก 2 แบบ  คือแบบแรก ใช้ส่วนส้นเท้าลงพื้นก่อน ( heel Strike)  และแบบที่สอง คือใช้ส่วนฝ่าเท้าลงพื้น ก่อน ( forefoot  Strike, Toe Strike)

จากการเก็บวิเคราะห์ข้อมูล หลายฐานข้อมูลพบว่า การวิ่งของคนส่วนใหญ่ 80-90 % จะเป็น Heel strike คือเอาส้นเท้าลงก่อน  ซึ่งก็มีข้อคัดค้านว่าที่เป็นอย่างนี้เนื่องจากรองเท้าในปัจจุบัน ออกแบบ ทำให้นักวิ่งต้องวิ่งลงด้วยส้นเท้าก่อน เพราะเป็นลักษณะที่ส้นด้านหลังสูง ทำให้ตัวเลขของคนวิ่งแบบ Forefoot strike ดูน้อยกว่าความเป็นจริง และคิดว่าถ้าเราวิ่งเท้าเปล่าแบบธรรมชาติ  การวิ่งจะลงน้ำหนักจะเป็นแบบ forefoot เสียเป็นส่วนใหญ่ด้วยซ้ำ ซึ่งเป็นธรรมชาติที่ถูกต้องของมนุษย์ และยังเชื่อว่าการวิ่งแบบ Forefoot strike ช่วยลดโอกาสการบาดเจ็บจากการวิ่งได้ดีกว่า Heel Strike

 

จึงได้มีที่มาของการวิจัยที่ประเทศ Finland โดย ทดลองเอา อาสาสมัคร ของทั้งชายและหญิง ที่มีน้ำหนักและส่วนสูงใกล้เคียงกัน  ที่มีการวิ่งที่แตกต่างกัน 2 แบบ โดยการตรวจวัดผลการลงน้ำหนักด้วย  motion-capture sensors

จากการเก็บข้อมูลพบว่า จุดที่มีการลงน้ำหนัก มากที่สุดและเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ มี 3 จุด ได้แก่ ที่ เข่า ,  ข้อเท้า และ เอ็นร้อยหวาย  การวิ่งแบบ Heel strike มีผลให้เกิดการบาดเจ็บที่เข่าได้มากกว่าแบบ Forefeet strike  โดยการลงน้ำหนักแบบ heel  strike มีแรงกระทำต่อเข่าสูงกว่า แบบ Forefeet strike ถึง 16 % ซึ่งนำไปสู่การบาดเจ็บจากการใช้งานซ้ำได้ง่ายกว่า

อย่างไรก็ดีการวิ่งแบบ Forefeet strike ก็มีข้อเสียคือทำให้เกิดแรงกระทำต่อ ข้อเท้าและเอ็นร้อยหวาย มากกว่า แบบ Heel strike ถึง 20 % และนำไปสู่การบาดเจ็บที่เอ็นร้อยหวายและข้อเท้าได้ง่ายกว่า

 

 

ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า การวิ่งทั้งสองแบบ ก็ทำให้เกิดการบาดเจ็บจากการวิ่งได้เหมือนกัน เพียงแต่เป็นคนละตำแหน่งที่บาดเจ็บ  Heel strike ทำให้คุณบาดเจ็บที่เข่าได้  ถ้าเป็นมากๆเกิด patellofemoral stress syndrome  , Forefeet strike ก็ทำให้เกิด Plantar fasciitis  (เอ็นฝ่าเท้าอักเสบ ) Achilles’ tendinopathy (เอ็นร้อยหวายอักเสบ ) , และ stress fractures of the foot การร้าวของกระดูก  ได้ .   ดังนั้นคุณไม่สามารถหลบเลี่ยงการบาดเจ็บทั้งหมดจากการเปลี่ยน style การวิ่งได้เลย

 

อย่างไรก็ตามเราสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลตรงนี้ เพื่อเลือก style การวิ่งที่เหมาะกับคุณได้ เช่น ถ้าคุณมีปัญหาปวดเข่า คุณควรวิ่งแบบ Forefeet strike แต่ถ้าคุณมีปัญหาที่ข้อเท้าหรือเอ็นร้อยหวาย คุณควรวิ่งแบบ Heel strike แทน

การเปลี่ยน Style การวิ่งเป็นเรื่องที่ไม่ได้ทำง่ายๆ แต่คุณสามารถทำได้แบบค่อยเป็นค่อยไป การบาดเจ็บจากการวิ่งไม่ใช่เรื่องไกลตัว ควรหมั่นสังเกต และปรึกษาแพทย์ถ้าอาการไม่หายไป

เรื่องนี้ยังคงต้องถกเถียงกันต่อไป และน่าจะมีงานวิจัยเพิ่มอีกในอนาคตอย่างแน่นอน คุณคิดว่าอย่างไร

 

วิเคราะห์ท่าวิ่งฟรี กับ Avarin

วิเคราะห์ท่าวิ่งใน 7 วินาที ทำให้คุณวิ่งได้ดีกว่าเดิม

 

แนะนำรองเท้าวิ่งจากทีมงานผู้เชี่ยวชาญ Click http://www.avarinshop.com/contact/

รองเท้าวิ่ง แบ่งตามการวิ่ง https://goo.gl/lX81VS

—————————————————————————————–

Avarin เติมเต็มประสิทธิภาพการวิ่งและไตรกีฬา

ใส่ความเห็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า