เดี๋ยวจะคุยกับนักวิ่งไม่รู้เรื่อง! คำศัพท์เกี่ยวกับรองเท้าที่นักวิ่งควรรู้

เดี๋ยวจะคุยกับนักวิ่งไม่รู้เรื่อง! คำศัพท์เกี่ยวกับรองเท้าที่นักวิ่งควรรู้

            เวลาเราเจอนักวิ่งรวมกลุ่มกันอวด หรือ พูดเรื่องรองเท้าวิ่งของเขา ก็มักจะมีศัพท์แปลกๆที่บางทีเราก็อยากจะเข้าใจในสิ่งที่พวกเขาพูด และก็อยากจะเข้าไปพูดคุยถึงเรื่องรองเท้ากับเขาบ้าง พอเข้าไปคุยก็จะเจอคำถามแบบ “รองเท้าDropเท่าไร?” “Upperเป็นแบบไหน?” “Stability หรือเปล่า?” ถ้าเราไม่เข้าใจศัพท์เหล่านี้ เดี๋ยวเขาจะว่าเราไม่รู้จริง วันนี้ ผมเลยจะมาแนะนำศัพท์ที่เกี่ยวกับรองเท้าเพื่อให้ได้ทราบกันเอาไว้ไปคุยแบบผู้รู้จริงกันครับ

อันดับแรกขอเริ่มที่ชิ้นส่วนของรองเท้าก่อนเลยครับ รองเท้าส่วนหลักๆจะมีทั้งหมด 4 ส่วน เริ่มจากชิ้นที่อยู่ล่างสุดของรองเท้าเราเรียกว่า “Outsole”

OutSole เป็นส่วนด้านใต้สุดของรองเท้า ส่วนใหญ่จะทำมาจาก Rubber แต่ละแบรนด์ แต่ละรุ่นก็จะมีความต่างกันตามนวัตกรรมของรองเท้าแต่ละแบรนด์ ตัว Outsole จะช่วยให้รองเท้ามีพื้นสัมผัสที่ดีขึ้นแล้วแต่เทคโนโลยีที่คิดค้นกันมาเฉพาะรุ่น เช่น ทำให้เด้งขึ้น ทำให้ลดแรงกระแทกมากขึ้น

ส่วนต่อมา อันนี้ผมว่าเป็นส่วนสำคัญเรียกได้ว่า ส่วนนี้เป็นแกนหลักของรองเท้าเลยก็ว่าได้นั้นคือ “Midsole” ชิ้นส่วนชิ้นนี้เป็นส่วนที่ช่วยรองเท้ารับและดูดซับแรงกระแทกได้ดี วัสดุที่ทำ Midsole ส่วนใหญ่จะเป็นโฟมชนิดพิเศษ (EVA) เป็นจุดสำคัญที่คนที่จะซื้อรองเท้าควรใส่ใจเรื่อง Midsole ว่าเราเหมาะกับรองเท้าคู่นี้ไหม ถ้าชอบวิ่งสบายๆ รองเท้าที่ Support ดีก็ควรจะมี Midsole ที่หนาๆ ถ้าอยากได้รองเท้าเน้นทำความเร็ว ส่วนของ Midsole ก็จะบางหน่อย เพราะจะทำให้รองเท้าน้ำหนักเบาขึ้น ทำความเร็วได้ดี

“Insole” เป็นชิ้นส่วนต่อไปที่เราจะพูดถึง ชิ้นส่วนนี้เราจะมองไม่เห็นจากภายนอก เพราะมันเป็นชิ้นส่วนที่อยู่ด้านใน เราเรียกชิ้นส่วนนี้ง่ายๆ ว่า “แผ่นรองเท้า”นั้นเอง ชิ้นส่วนนี้เป็นส่วนที่จะช่วยรับแรงกระแทกอีกชั้นหนึ่ง และทำให้ผิวสัมผัสระหว่างเท้ากับรองเท้าดีขึ้นด้วย แต่ชิ้นส่วนนี้รองเท้าบางแบรนด์ก็ไม่มีนะครับ หรือบางแบรนด์ก็เย็บติดกับรองเท้าไปเลย แต่ส่วนใหญ่จะถอดออกได้ เราจะเห็นได้ว่าบางคนที่เท้ามีปัญหา เท้าล้ม รองช้ำ หรืออยากได้ Support มากขึ้นก็จะหาชิ้นส่วนนี้มาเปลี่ยนมาเสริมกันได้ เพื่อให้วิ่งได้สบายมากขึ้น

“Upper” ชิ้นส่วนนี้เป็นชิ้นส่วนที่มีพื้นที่มากที่สุดของรองเท้าเลยครับ เป็นชิ้นส่วนที่ทำให้รองเท้าของคุณ มีสีสันโดดเด่นมากขึ้น เป็นผ้าด้านบนที่ช่วยห่อหุ้มเท้าของคุณ แต่มันไม่ได้มีดีแค่เอาไว้โชว์แบรนด์ อวดสีสันกันเท่านั้น วัสดุส่วนใหญ่จะเป็นผ้า ส่วนผ้าอะไรนั้นก็เป็นเรื่องของนวัตกรรมของแต่ละแบรนด์ ช่วงนี้ที่มาแรงก็จะเป็นผ้าทอ (Knit) ที่มีความแข็งแรงทนทาน ยืดหยุ่นได้ดี หรือถ้าอีกชนิดที่ใช้กันมากนั้นก็คือผ้า Mesh ที่ช่วยระบายอากาศได้ดี ไม่อับชื้น

เราก็ทำความรู้จักกับชิ้นส่วนของรองเท้าแล้ว ต่อไปเวลาเจอกลุ่มนักวิ่งเขาพูดกันถึงเรื่องส่วนใดจะได้เข้าใจกันถูกต้องนะครับ และผมอยากให้มารู้จักคำศัพท์เพิ่มเติมที่สำคัญเกี่ยวกับรองเท้ากันอีกสักนิด

เริ่มด้วยคำแรก เป็นคำฮิตเลยครับ นั้นคือ “DROP” คำนี้คือการเรียกความต่างความสูงระหว่างส้นเท้าจนถึงปลายเท้า ยังอาจจะงงอยู่ผมยกตัวอย่างให้ฟังครับ ถ้าส่วน Heel (ส้นเท้า) มีความสูง 25 mm แล้ว ส่วนหน้าเท้า (Toe) มีความสูง 20 mm  ซึ่งนำมาลบกัน เท่ากับ 5mm เราจะเรียกรองเท้านี้ว่า DROP 5 และถ้าความต่างส่วนส้นเท้ากับหน้าเท้า ความสูงเท่ากัน เราจะเรียกรองเท้านี้ว่า Zero DROP

แล้ว DROP มีข้อดียังไง ? เราจะสังเกตได้ว่ารองเท้าที่เน้นทำความเร็ว ยกตัวอย่างเช่น Nike Vaporfly 4% DROP จะอยู่ที่ 10 mm ซึ่งถือว่า DROP สูง การที่ใช้รองเท้า DROP สูงๆ จะทำให้มีแรงส่งตัวและความเด้งเพิ่มมากขึ้น กลับกันหากใช้รองเท้าที่ DROP ต่ำ หรือ Zero DROP อย่าง Altra จะทำให้การวิ่งของเราได้ความรู้สึกที่เป็นธรรมชาติมากขึ้น เหมือนวิ่งด้วยเท้าเปล่า ส่วนแบบไหนดีกว่ากันนั้น อันนี้ต้องขึ้นอยู่กับสไตล์การวิ่งของแต่ละคน เรียกว่าดีด้วยกันทั้งคู่อยู่ที่ว่านักวิ่งแต่ละท่านเหมาะกับแบบไหนนะครับ

ต่อไปที่เราจะพูดถึงคือ ประเภทรองเท้า จะพูดถึง 2 คำนั้นคือ “Neutral” กับ “Stability” ถ้าเป็นรองเท้าแบบ “Neutral” จะใช้เรียกรองเท้าแบบปกติ คนเท้าปกติสามารถใส่ได้ ส่วนคำว่า “Stability” จะเป็นแบบรองเท้าสำหรับคนที่มีอาการเท้าล้ม ข้อเท้าบิดเข้าด้านใน ซึ่งเหมาะกับนักวิ่งที่มีอาการเท้าแบนควรใส่รองเท้าแบบ Stability ครับ

แล้วจะสังเกตรองเท้า Stability ยังไง ? ส่วนใหญ่เราก็จะถามพนักงานหน้าร้านขายรองเท้าว่า “รองเท้าแบบไหนสำหรับคนเท้าแบน” แต่ถ้าเราจะสังเกตง่ายๆด้วยตัวเราเอง จุดแรก ด้านในรองเท้าจุดตรง Arch Support จะสูงขึ้นมา เพื่อรองรับคนเท้าแบนที่ไม่มีเว้า Arch จุดที่ 2 รองเท้า Stability จะ Support สูง เพื่อลดแรงกระแทก ที่ไม่มี Arch ดังนั้นรองเท้า Stability ส่วนใหญ่พื้นจะหนา จุดสังเกตนี้ ขอบอกว่าเป็นส่วนใหญ่ เพราะมีรองเท้าบางประเภท อย่างของ Newton ที่พื้น Support ไม่สูงมาก แต่เป็นรองเท้าแบบ Stability จุดสุดท้าย หน้าเท้าจะกว้างซึ่งเป็นอาการที่จะพ่วงกันมาสำหรับคนเท้าแบน ทรงเท้าจะใหญ่ ดังนั้นรองเท้า Stability จึงมักทำหน้าเท้ากว้าง 3 จุดนี้เอาไว้ให้สังเกตกันคราวๆนะครับ ทางที่ดีเอามั่นใจ ลองถามเจ้าหน้าที่ ณ จุดขายดีกว่าครับ เพื่อความแน่นอน

 

เราก็ได้คำศัพท์ เอาไว้คุยกับกลุ่มนักวิ่งกันแล้ว ตอนนี้เขาคุยอะไรกัน เกี่ยวกับรองเท้า เราจะได้เอารองเท้าคู่โปรดเราไปอวดบ้างว่า เจ๋งยังไง? ดีแบบไหน? DROP เท่าไร? จะได้ไม่ตกเทรนด์นะครับ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า